Tuesday, June 5, 2012

Macro View of Thai Coffee (มุมกว้างๆของกาแฟไทย)


พูดถึงกาแฟในมุมแคบๆมาเยอะแล้วครับ ความพยายามที่จะหากาแฟดีๆดื่มวันนี้ ทำให้ผมรู้สึกว่าเรามาพูดถึงกาแฟในมุมกว้างๆมากดีกว่าครับ เนื่องจากการดื่มกาแฟแบบตะวันตกจะไม่ได้เป็นที่นิยมมากในอดีตจนกระทั่งระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับเมล็ดกาแฟไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจของบ้านเรา อาจจะมาจากลักษณะภูมิประเทศ หรืออาจจะเพราะการที่ประเทศเราไม่เคยเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกก็ไม่ค่อยแน่ใจครับ
ตามข้อมูลที่เคยศึกษามา กาแฟไม่น่าจะเป็นพืชที่มีอยู่ตามธรรมชาติในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ทำไมประเทศอินโดนีเซียถึงมีดารปลูกกาแฟอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นสุดยอดภูมิลำเนากาแฟโลก สาเหตุอาจจะมาจากสภาพทางภูมิศาตร์ที่เหมาะสมกับการคิดค้นวิธีบริโภคที่แปลกประหลาด (ไม่ทราบว่าคิดอย่างไรในการไปหาของกินจากอุจจาระสัตว์ ถ้าสัตว์ชนิดนั้นไม่ใช่ชะมดแต่เป็นสุนัข จะเกิดอะไรขึ้นครับ ไม่อยากจะคิดเลยครับ กาแฟขี้สุนัข” จะรสชาติดีกว่ากาแฟขี้ชะมดมั้ยครับเนี่ย
จุดเริ่มต้นนั้นเกิดจากชาวดัชท์ (เนเธอร์แลนด์) เป็นผู้ริเริ่มนำกาแฟ (ซึ่งจริงๆแล้วถูกค้นพบในประเทศเอธิโอเปีย ในทวีปแอฟริกา) เข้ามาปลูกในประเทศอินโดนีเซียนั่นเอง เมล็ดพืชมหัศจรรย์ที่สร้างความคึกคักกลับไม่ได้ดังในประเทศต้นกำเนิด แต่กลับไป Hot ในเมืองมักกะโรนี นิยมกันมากแบบเป็นเรื่องเป็นราว จนมีการค้นคว้าและคิดค้นกรรมวิธีต่างๆในการบริโภคจนกลายเป็นมหาอำนาจของเมล็ดพืชชนิดนี้ อย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้ อุปกรณ์บางอย่างมีมูลค่าประมาณรถยนต์หนึ่งคันเห็นจะได้ สุดยอดนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมอาคารและเครื่องดื่มจริงๆ
จะมีใครคิดครับว่าเครื่องดื่มที่บางครั้งดูเป็นขนม นิยมบริโภคกันเวลาชิวๆ ควบคู่ไปกับของหวานรสชาติเลิศๆ จะเป็นผลผผลิตของพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณการผลิตสูงถึง 7 ล้านเมตริคตันต่อปีทั่วโลก (1 เมตริคตัน = 1,000 กิโลกรัม) และมีปริมาณการซื้อขายเป็นรองแค่น้ำมันดิบเท่านั้น มูลค่านี้เป็นแค่มูลค่าของวัตถุดิบเท่านั้นนะครับ ยังไม่รวมถึงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกสร้างเพิ่มอีกไม่รู้กี่เท่าจากวัตถุดิบชนิดนี้ครับ และไม่น่าเชื่อว่าของที่ดู Indy แบบนี้จะสามารถสร้างมูลค่าอันมหาศาลได้ถึงขนาดนี้ 
สำหรับในบ้านเรา (อันนี้จากข้อสังเกตและประสบการณ์ส่วนตัว) กาแฟในบ้านเรามีวิธีการบริโภคที่ค่อนข้างจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่ได้ขายกันในราคาที่กล่าวได้ว่าจะสามารถทำให้เกิดความมั่งคั่งในชีวิตได้ ดังนั้น Business Model ของร้านกาแฟจริงจังจึงอาจจะยังไม่เกิดขึ้นมากนักในบ้านเรา เพราะก่อนเกิดอาจจะดับได้ง่ายๆ ความพยายามในการทำร้านกาแฟดีๆสักร้าน มีการลงทุนที่สูงอยู่ครับ รายได้อาจไม่มากถ้าเทียบกับการลงทุน สู้เปิดร้านในสไตล์ Street  Vending ไม่ได้ ซึ่งขายง่าย ขายถูก ขายเร็ว ลงทุนน้อย มีให้เห็นทุกมุม ลองสังเกตดูสิครับ ร้านกาแฟแนวหน้าของเจ้าของชื่อชั้นระดับเทพและเซียนในวงการในวงการกาแฟบ้านเรานั้น ต่างอยู่ในทำเลที่เรียกว่าเดินทางและเข้าถึงได้อย่างไม่ค่อยสะดวกนัก นั่นอาจจะเพราะความรักสันโดษหรือความเสี่ยงของการลงทุนที่อาจไม่คุ้มทุนก็ไม่สามารถทราบได้ (ขอไม่วิจารณ์ครับเพราะไม่รู้จริง)
เราจึงไม่ค่อยได้พบเห็นร้านกาแฟ Indy ดีๆ ในสถานที่ที่สามารถหาบริโภคได้ง่าย มีแต่กาแฟ Chain ที่ได้มีเงินทุนในการประกอบการค่อนข้างสูง ซึ่งบางครั้งก็แอบเบื่อในรสชาติเช่นกัน แต่ก็ขอยอมรับในความเป็นมาตราฐาน ในขณะเดียวกันสิ่งที่สัมผัสไน้อยมากในเครื่องดื่มแต่ละแก้วก็คือ Passion หรือ จิตวิญญาณนั่นเอง ก็ในเมื่อทุกกระบวนการถูกกำหนดให้เป็นกระบวนอัตโนมัติทั้งหมดเพื่อความเป็นมาตราฐานของ Brand แล้วจะเอาจิตวิญญาณของ Barista ไปใส่ลงตรงไหนกันครับ

ก่อนจากไปในวันนี้ผมขอเป็นกำลังใจให้กับคนกาแฟของบ้านเราที่มีอุดมคติและความมุ่งมั่นสร้างสรรค์และผลิตงานศิลปที่เกิดจากเมล็ดพืชมหัศจรรย์ชนิดนี้ ความรู้และความพยายามที่ท่านเหล่านี้มอบให้สังคมจะไม่สูญเปล่า แล้วหวังว่าค่านิยมและพฤติกรรมของผู้บริโภคในบ้านเราจะเปลี่ยนไปและเป็นแรงผลักดันให้ผลผลิตดีๆจากบ้านเราได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับโลกภายในเร็ววันครับ